โฆษกสำนักนายกเผย คนไทยจมน้ำเสียชีวิต 3.6 พัน เด็กจมน้ำเสียชีวิต เฉลี่ย 780 คนต่อปี หนุนโครงการเด็กไทยว่ายน้ำได้ ลดจำนวนผู้เสียชีวิต น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบแนวทางการลดปัญหาการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กและเยาวชนไทย สอดรับกับมติสมัชชาสหประชาชาติ ที่ต้องการป้องกันการจมน้ำของเด็กทั่วโลก
ทั้งนี้ ตัวเลขจากองค์การอนามัยโลกพบว่า
ทั่วโลกมีคนจมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 3.6 แสนคน เป็นกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 1.45 แสนคน คือสาเหตุอันดับสอง ของการเสียชีวิตในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี รองจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ขณะที่ในภูมิภาคอาเซียน มีการจมน้ำเสียชีวิตสูงเป็นอันดับสองของโลก และ 10 ปีที่ผ่านมา (2554 -2563) ประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากการจมน้ำจำนวน 3.6 หมื่นคน เฉลี่ยปีละ 3,614 คน เป็นกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เฉลี่ยปีละ 780 คน ในปี 2564 มีเสียชีวิต 658 คน ปี 2563 มีจำนวน 540 คน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการชักชวนกันไปเล่นน้ำและพลัดตกมากที่สุด
น.ส.รัชดา กล่าวว่า กรมพลศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการป้องกันการจมน้ำ ได้ดำเนินโครงการ “เด็กไทยว่ายน้ำได้” เพื่อให้เด็กมีทักษะการว่ายน้ำเบื้องต้นที่ถูกต้อง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และรู้หลักการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำ ซึ่งจะเลดอัตราการจมน้ำของเด็ก เฉพาะปี 2565 มีเด็กต่ำกว่า 15 ปี เข้าร่วมโครงการจาก 77 จังหวัด รวม 9,311 คน มากไปกว่านั้น ทางกรมฯ ได้เสนอแนวทางการลดปัญหาการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กและเยาวชนไทย
รองโฆษกรัฐบาล กล่าวว่า คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กฯ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อนำ 5 แนวทางที่ได้รับการเห็นชอบไปพิจารณาดำเนินการ 1.กระทรวงศึกษาธิการ บรรจุหลักสูตรการเรียนการสอนว่ายน้ำขั้นพื้นฐานเป็นวิชาบังคับในสถานศึกษาที่มีความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์ กรณีที่สถานศึกษามีข้อจำกัดด้านสถานที่และอุปกรณ์ให้พิจารณาสนับสนุนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสระว่ายน้ำเคลื่อนที่สำหรับเด็กและเยาวชน ได้ฝึกว่ายน้ำเพื่อให้มีทักษะการว่ายน้ำและสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ
2.กระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันจัดทำองค์ความรู้เรื่องการป้องกันการจมน้ำของเด็กและเยาวชนในรูปแบบสื่อประเภทต่างๆพร้อมเผยแพร่ในสถานศึกษาผ่านช่องทางที่หลากหลาย 3.กระทรวงดิจิทัลฯ กระทรวงศึกษาฯ และกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันทำการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับพ่อแม่ ผู้ปกครองครู และประชาชนทั่วไปในการป้องกันและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนจากการจมน้ำ
4.กระทรวงศึกษาฯ กำหนดค่าเป้าหมายและมาตรการในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการป้องกันการจมน้ำพร้อมติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ5.ร่วมกันวางแผนและกำหนดพื้นที่เล่นน้ำที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน
รัฐบาลจึงขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้ความสำคัญเรื่องการป้องกันปัญหาเด็กจมน้ำเสียชีวิต ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการว่ายน้ำและสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ ในส่วนภาครัฐจะได้บูรณาการการทำงานอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียจากการจมน้ำอีกต่อไป
‘ประยุทธ์’ วอน ปชช. มั่นใจ มาตรการรองรับนักท่องเที่ยวจีน
ประยุทธ์ วอนขอให้ประชาชนมั่นใจ มาตรการรองรับนักท่องเที่ยวจีน หลังจีนเปิดประเทศ 8 ม.ค. มั่นใจพร้อมรับนักท่องเที่ยวจีน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงมาตรการรองรับนักท่องเที่ยวจีน หลังจากที่จีนเปิดประเทศในวันที่ 8 ม.ค. ที่จะถึงนี้ ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมมาตรการไว้แล้ว ขอให้ประชาชน เชื่อมั่นในมาตรการด้านสาธารณสุขของไทย เพราะการท่องเที่ยวถือเป็นรายได้หลักของไทยในช่วงนี้
ขอให้ทุกคนเน้นย้ำในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด และหากเจ็บป่วยก็ให้เข้ารับการรักษา ซึ่งไทยถือว่ามีประสบการณ์ที่เคยแก้ไขปัญหาเหล่านี้มาแล้ว และต่างประเทศก็ได้นำไปเป็นแบบอย่าง
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการฯ กล่าวถึงมาตรการรองรับนักท่องเที่ยวจีนว่า ไม่เลือกปฏิบัติ อยู่บนพื้นฐานด้านวิชาการ ความปลอดภัยสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศ และสอดคล้องกับมาตรการผู้เดินทางเข้าออกของประเทศต่างๆ
ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาและประเมินความเสี่ยงแล้วเห็นว่า “ยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้” โดยมีแนวทางและมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 เพื่อเตรียมรับผู้เดินทางจากจีน ดังนี้
1. กำหนดมาตรการป้องกันโควิด เพื่อรับผู้เดินทางจากจีน ได้แก่ ตรวจเอกสารรับรองวัคซีนโควิด 19 และประกันสุขภาพระยะสั้นที่ครอบคลุมการรักษาโควิด ก่อนเดินทางเข้าไทย สอดคล้องกับข้อกำหนดของจีนในการรับผู้เดินทางเข้าประเทศ ที่ให้ตรวจ RT-PCR ก่อนขึ้นเครื่อง 48 ชั่วโมง
2. สื่อสารถึงมาตรการและคำแนะนำต่างๆ ของไทย ให้ผู้เดินทางก่อนเดินทางเข้าไทย ผ่านหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สายการบิน ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ
3.ระบบเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศที่ช่องทางเข้าออกประเทศ โดยสุ่มตัวอย่างตรวจสายพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันสายพันธุ์ที่พบในจีน ไม่แตกต่างจากที่เคยมีรายงาน ประเมินสถานการณ์เป็นระยะ เพื่อนำไปพิจารณากำหนดมาตรการที่เหมาะสม
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ดัมมี่ออนไลน์ ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ ufabet 2023 แทงบอลออนไลน์ สล็อตแตกง่าย